ชื่อบทเรียน อยู่อย่างพอเพียง กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้สอน อ.วรินธร ไชยกาล จำนวน 5 คาบ
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1
มาตรฐาน ส 3.1
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ตัวชี้วัด 2 ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัว
โรงเรียน และชุมชน
รูปแบบกิจกรรมเว็บเควสที่เลือกใช้: Consensus Building Tasks
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้เกี่ยวกับแนวคิดที่สำคัญเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งทรัพยากรเว็บไซต์ต่าง ๆ มาอภิปราย โต้แย้งเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
จุดประสงค์
1.สามารถสรุปปัญหา ที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากเว็บไซต์ต่าง ๆ และ
1.สามารถสรุปปัญหา ที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากเว็บไซต์ต่าง ๆ และ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัว โรงเรียนและชุมชนได้
โดยการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปของปัญหานั้น
2.นำเสนอปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบ
รายงาน โดยวิเคราะห์และนำเสนอความคิดเห็นเชิงบวกหรือลบได้
แหล่งเรียนรู้หลักที่จะใช้
ชื่อบทเรียน อยู่อย่างพอเพียง Sufficiency Economy
ชื่อบทเรียน ช่วยกันแก้ปัญหา
เว็บไซต์
ครอบครัว
โรงเรียน
ชุมชน
สื่อการเรียนรู้ที่จะจัดทำเสริม
1. ใบงาน จำนวน 3 ใบ
ใบงานที่ 1 นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานสำคัญของ
ชีวิต”หรือไม่ อย่างไร
ใบงานที่ 2 นักเรียนคิดว่า การปลูกผักสวนครัวไว้กินเองในครอบครัว สอดคล้องกับหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง อย่างไร
ใบงานที่ 3 นักเรียนสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
อย่างไร
2. Powerpoint
4.แบบบันทึกอนุทินความรู้
การประเมินผล
เกณฑ์ | ดีเยี่ยม (4) | ดี (3) | พอใช้ (2) | ปรับปรุง (1) | คะแนน |
การสรุปนำเสนอจากการค้นคว้าของกลุ่ม | นำเสนอผลงาน ของกลุ่มด้วยความร่วมมือแสดงความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่มากผลงานมีข้อมูลครบถ้วน มีการจำแนกความแตกต่าง มีตัวอย่างประกอบชัดเจน | นำเสนอผลงานของกลุ่มด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผลงานมีข้อมูลครบถ้วน มีการจำแนกความแตกต่าง มีตัวอย่างประกอบ | สามารถนำเสนอ ผลงานของกลุ่มได้ ผลงานมีข้อมูลครบถ้วน ขาดการจำแนกความแตกต่าง หรือขาดตัวอย่างประกอบ | ไม่สามารถนำเสนอ ผลงานของกลุ่มได้ผลงานมีข้อมูลไม่ครบถ้วน ขาดการจำแนกความแตกต่าง และหรือขาดตัวอย่างประกอบ | |
การบันทึกอนุทินความรู้ | บันทึกอนุทินความรู้ได้ครบถ้วนพร้อมแสดงความคิดเห็นที่เป็นการสรุปผลการเรียนรู้ | บันทึกอนุทินความรู้ได้ครบถ้วน | มีการบันทึกอนุทินความรู้ | ไม่มีการบันทึกอนุทินความรู้ | |
การทำแบบฝึกหัดและใบงาน | สามารถทำแบบฝึกหัดได้มากผลงานสวยงามเดีเยี่ยม มีความเป็นระเบียบมาก มีความคิดสร้างสรรค์ดีเยี่ยม | สามารถทำแบบฝึกหัดได้น้อย ผลงานสวยงามเดี มีความเป็นระเบียบน้อย มีความคิดสร้างสรรค์ดี | สามารถทำแบบฝึกหัดได้บางส่วน ผลงานสวยงามเล็กน้อย มีความเป็ฯระเบียบและ มีความคิดสร้างสรรค์เล็กน้อย | ไม่สามารถทำแบบฝึกหัดได้ ผลงานไม่สวยงาม ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ | |
รวมคะแนน |
เกณฑ์การวัดคุณภาพ
ระดับดีเยี่ยม ( 10-12 คะแนน )
ระดับดี ( 7 - 9 คะแนน )
ระดับพอใช้ ( 4 - 6 คะแนน )
ระดับควรปรับปรุง ( 1 - 3 คะแนน )
เกณฑ์การผ่าน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ระดับคุณภาพ 7-12 ถือว่า ผ่าน
ระดับคุณภาพ 1 - 6 ถือว่า ต้องปรับปรุง
ขั้นนำ Introduction
เว็บเควสนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้พวกเราได้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่ง
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้พวกเราดำเนินชีวิตแบบพอเพียง พวกเราคิดอย่างไร ถ้าเรากินอยู่แบบฟุ่มเฟือย หรือเรากินอยู่อย่างพอเพียง สิ่งไหนจะทำให้ชีวิตเราดีกว่าหรือสิ่งไหนทำให้ชีวิตเราแย่ลง พวกเราจะกินอยู่อย่างอย่างไร ให้พวกเราหาเหตุผลมาถกเถียงพูดคุยถึงปัญหาเพื่อหาข้อสรุปในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยแบบยั่งยืน
แล้วคุณล่ะพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหาชีวิตของคนไทยหรือยัง เราลองเข้าไปสัมผัสชีวิตอยู่อย่างพอเพียงกันเถอะ
ภาระงาน Task
ในหมู่บ้านมงคลชัยพัฒนา มีชาวบ้านเกษตรกรทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ให้นักเรียนคิดว่าตนเองเป็นเกษตรกรในหมู่บ้านนี้ นักเรียนคิดอย่างไรถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเงิน การทำเกษตรกรรม นักเรียนต้องศึกษาแนวคิดที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ในบทเรียนชุดที่ 1 อยู่อย่างพอเพียง จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะแนะนำความรู้เมื่อสมาชิกเกษตรกรได้รับความรู้ ในบทเรียนชุดที่ 2 ช่วยกันแก้ปัญหา แล้วนำมาอภิปรายในกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาและหาข้อสรุปในการช่วยเหลือเกษตรกรในหมู่บ้านนี้ จากนั้นนักเรียนช่วยกันทำอัลบั้มภาพสรุปปัญหา และการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างไร
No comments:
Post a Comment