แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บ:
Authentic Assessment Overview
http://www.teachervision.fen.com/teaching-methods-and-management/educational-testing/4911.html?detoured=1
Funderstanding: Authentic Assessment
http://www.funderstanding.com/content/authentic-assessment
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินผลโดยทั่วไปไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะสามารถวัดความสามารถของผู้เรียนได้ วิธีการประเมินยังคงเป็นการทดสอบความสามารถของนักเรียนโดยรวม ปัจจุบันผู้เรียนมีความสามารถ ประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้
องค์ประกอบพื้นฐาน การประเมินตามสภาพจริงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนี้-ความต้องการของผู้เรียน ที่มีการพัฒนาความคิดจากที่กำหนดทักษะพื้นฐาน
-การประเมินผลโดยตรงจากการสังเคราะห์กับคำแนะนำในห้องเรียน
-การวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล การใช้ตัวอย่างงานของผู้เรียน เช่น Portfolio
-สอนผู้เรียนให้ประเมินงานของตนเอง
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของผู้เรียนในการถามคำถาม แสดงความรู้หรือทักษะความสามารถตามวิธีต่าง ๆ และควรลดอคติในการประเมิน
การสอบแบบปรนัย จะวัดความเข้าใจของนักเรียนได้หรือไม่ การประเมินทางเลือกมีประสิทธิภาพมากกว่า ครูส่วนใหญ่ใช้การสอบเพื่อเน้นความจำ แต่ถ้าครูถามผู้เรียนให้ฝึกทักษะการวิเคราะห์ สามารถรวบรวมสิ่งที่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการทำงานแบบร่วมมือ การเขียน การสอบปากเปล่า และมีความคิดรวบยอดจากการเรียน ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะประยุกต์ทักษะจากงานและโครงงาน ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียน
การประเมินตามสภาพจริงใช้ประโยชน์จากการแสดงตัวอย่างกิจกรรมการเรียน 5 ตัวอย่าง ดังนี้
1.การประเมินประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Assessment)ซึ่งการประเมินที่มีประสิทธิภาพ การใช้ความสามารถที่แตกต่างออกไป การประยุกต์ใช้ทักษะและความคิดรวบยอดในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่นการเขียน การปรับปรุงแก้ไขการนำเสนอรายงานในชั้น
2.การตรวจสอบอย่างย่อ (Short Investigations) ครูใช้การตรวจแบบย่อ ๆ นักเรียนจะรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดพื้นฐานและทักษะเริ่มจากตัวกระตุ้น เช่น ปัญหาโจทย์คณิต การ์ตูนการเมือง แผนที่ฯลฯ
ฝึกให้ผู้เรียนตีความ บรรยาย รวบรวม อธิบายหรือทำนาย การตรวจสอบโดยเลือกตอบหลายข้อ หรือการหาความคิดรวบยอดของแผนผัง เทคนิคการประเมิน ซึ่งนักเรียนต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของความคิดรวบยอด
3.การตอบคำถามเปิด (Open-Response Question) นำเสนอนักเรียนโดยการกระตุ้นและถามให้ตอบ เช่นการเขียนสั้น ๆ การตอบปากเปล่า การวาด การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ
4.Portfolio เป็นเอกสารการเรียน ช่วยพัฒนานักเรียนและสอนนักเรียนในการประเมินตนเอง การแก้ไขและการทำใหม่ รายการบันทึกประจำวัน การแสดงความคิดเห็น งานศิลปะแผนภาพ รายงานกลุ่ม
5.การประเมินตนเอง (Self-Assessment) ตามความต้องการของผู้เรียนที่มีส่วนร่วม กระบวนการและผลผลิต การตั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินตนเอง เช่น
-อะไรเป็นส่วนที่ยากของโครงงาน
-ถ้าคุณสามารถทำงานอีกครั้งจะมีข้อแตกต่างอย่างไร
-คุณเรียนรู้อย่างไรเกี่ยวกับโครงงาน
การประเมินตามสภาพจริง ครูควรเข้าใจความหมายมาตรฐานและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง บางคนใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubric หรือการวิเคราะห์ผ่านงาน ที่ประเมินงานของนักเรียน
No comments:
Post a Comment