Saturday, September 24, 2011

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน Course 531

 ได้รับความรู้จากการเรียนการทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ได้จ้ดระบบการเรียนออนไลน์ ฝึกการบริหารจัดการในการเรียน โดยมีวินัยในการอภิปรายร่วมกับเพื่อนมากขึ้น มีการรวบรวมงานต่าง ๆ ไว้ ทำให้มีการพัฒนางานของตนเอง นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน โดยการอภิปรายร่วมกัน ในความรู้ด้านวิชาการโดยผลัดกันเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ มีการวางแผนงาน การแบ่งงานกันทำ  การทำงานแบบร่วมมือกัน มีการสืบค้นข้อมูล ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่กำหนด  แล้วร่วมกันสรุปผลงานเป็นรายงานส่งอาจารย์ ฝึกการสรุปวิเคราะห์ และการวางประเด็นสรุป ทั้งยังได้ฝึกการทำเว็บบล็อก เป็นการออกแบบงานด้วยตนเองและมีการปรับแต่งทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และได้ฝึกทักษะการใช้เว็บบล็อกได้เชี่ยวชาญมากขึ้น
          ซึ่งในบล็อกนี้จะยังคงมีผลงานตั้งแต่การทำงานครั้งแรก คือ Groupwork Set1 จนถึง Pojectwork 2 เพื่อเก็บไว้อ่านงานเก่าและการปฏิบัติงานในการเรียนวิชานี้ ได้รับความรู้มากมาย และยังได้พัฒนา Blog นี้ให้เป็น E-Portfolio โดยรวบรวมงานของกลุ่มตนเองและเพื่อน ๆ จากการทำงานในหัวข้อที่ตนเองได้รับ ดังนี้

สรุปงานตามหัวข้อที่ได้รับ จากการเรียน Course 531

อะไรเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรแกรมออนไลน์

     ความสำคัญของโปรแกรมออนไลน์เพื่อได้รับประสบการณ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมากมาย จึงนำประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้บุคคลเข้าถึงอย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งยังปรับปรุงการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่บทเรียนได้ด้วยตนเองไม่ต้องคำนึงถืงเวลาและสถานที่ เพราะผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่จากเทคโนโลยีใกล้ตัว เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค 
    
องค์ประกอบที่สำคัญของโปรแกรมออนไลน์มีดังนี้

         1.ผู้เรียน (The Students) สามารถสร้างองค์ความรู้ มีการสืบค้นข้อมูลเอง มีความสามารถในการค้นหาแหล่งข้อมูล มีการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีการทำงานร่วมกันในกลุ่มผู้เรียน อาจจะมีการทำงานแบบเดี่ยว  มีการจับคู่ (pairwork)หรือการทำงานกลุ่ม  ตัวผู้เรียนต้องมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี  ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนเมื่อไรก็ได้ เพราะในชีวิตประจำวันของผู้เรียนในปัจจุบัน บางคนมีอาชีพเป็นครู ต้องการพัฒนาตนเองในสายอาชีพครู เหมาะกับการเรียนแบบออนไลน์ ดีกว่าเรียนในห้องเรียน ซึ่งบางครั้งรถติด ต้องใช้เวลาในการเดินทางมาก การเรียนแบบออนไลน์ช่วยให้ผู่เรียนรู้จักทำงานร่วมกันแบบร่วมมือกัน ผู้เรียนต้องเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ เปิดใจ เปิดความคิด เต็มใจในการทำงานร่วมกับเพื่อน ช่วยเหลือกัน มีประสบการณ์ออนไลน์

     2.ผู้สอน (The Facilitator ) มีความสำคัญในโปรแกรมออนไลน์  เพราะคอยให้คำแนะนำได้ตลอด   มีความรู้ทางโปรแกรมออนไลน์  มีบุคลิกลักษณะ และความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมออนไลน์ รอบรู้ทางการติดต่อในอินเทอร์เน็ต สามารถฝึกผู้เรียนให้มีการพัฒนาทักษะในการใช้โปรแกรมออนไลน์  สนับสนุน ส่งเสริมและให้กำลังใจผู้เรียน ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบและจัดระบบการเรียน มีความสามารถในการรวมกลุ่มนักเรียนในการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มที่คอยแนะนำ  สามารถชี้แนะและควบคุมชั้นเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจวัตถุประสงค์ ผู้สอนเหมือนเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน

     3.หลักสูตร (The Curriculum) ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนโดยใช้เทคโนโลยี ต้องมีมาตรฐานมีการพัฒนาหลักสูตรตามกระบวนการและวิธีการ  มีการออกแบบโปรแกรมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน หลักสูตรให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้ โดยให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการคิดแบบความเรียงขั้นสูง มีการจัดกิจกรรมกลุ่ม ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี

     4.เทคโนโลยี (The Technology)  มีส่วนสำคัญในการเรียนการใช้โปรแกรมออนไลน์ เป็นการเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ ต้องพร้อมและมีความรวดเร็วในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อวันเวลา และการตอบรับของบุคคล  ใช้ในการทำกราฟฟิค วีดิโอ และการโหลดโปรแกรม คอมพิวเตอร์ กล่อง wirelessและโมเด็มก็มีส่วนสำคัญในการเรียนการสอนออนไลน์ เหมือนเป็นสื่อกลางที่ส่งข้อมูลให้กับผู้เรียน

ความสำคัญของโปรแกรมออนไลน์มีประโยชน์ต่อผู้เรียนในการดีไซน์ คอร์สออนไลน์ได้เอง  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อที่ตนอยากเรียน  ในการเรียนในห้องเรียนอาจจะไม่อยากตอบคำถามในชั้น  แต่ถ้าผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นด้วยการเขียน  มีการจัดกลุ่มและปรึกษากันกับเพื่อนร่วมงานได้
      สิ่งที่คำนึงถืงเบื้องต้นของการใช้โปรแกรมออนไลน์
1.ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา
2.เป็นประสบการณ์ใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ซีดี ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติจริง
3.ประหยัดเวลาและการเดินทาง
4.สามารถแสดงความคิดเห็นและความคิดสร้างสรรค์ได้
5.ปรับปรุงการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของตนเอง
6.สามารถจัดลำดับเอกสาร อภิปรายกลุ่มตามที่ผู้เรียนกำหนดเอง
     องค์ประกอบสำคัญของโปรแกรมออนไลน์ขึ้นอยู่กับ ผู้เรียน  ผู้สอน  หลักสูตร และ เทคโนโลยี 
เป็นสิ่งที่สอดคล้องกันและสัมพันธ์กัน  ซึ่งจะขาดสิ่งใดไม่ได้เลยเพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและดำเนินการร่วมกัน

     เว็บเควสในปัจจุบันเป็นวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหา โดยมีกระบวนการทำงานแบบกลุ่ม ผู้เรียนและผู้สอนมีโอกาสพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ผู้สอนเป็นผู้กำหนดบทบาทสมมุติให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ โดยบางคนเรียกเว็บเควส หรือบทเรียนแสวงรู้
     เบอร์นี่ ด็อจ (Bernie Dodge) แห่ง San Diego State University สหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะขั้นสูงในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยกิจกรรมบนบทเรียนเป็นตัวเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และต้องการสืบเสาะค้นหาข้อมูล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในรูปแบบของการตั้งสมมติฐานและสมมติสถานการณ์ โดยการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าต่อเนื่องไปได้ไม่รู้จบ ตามความสนใจของผู้เรียน แต่ละคน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับกิจกรรม (Dodge, 1995 ; Owen, 1999 และวสันต์ อติศัพท์, 2546)
กระบวนการออกแบบเว็บเควส ดังนี้
1.เลือกหัวข้อที่ตรงกับมาตรฐานตัวชี้วัด
2.เลือกออกแบบ เกี่ยวกับใบงานให้ตรงกับมาตรฐานและผู้เรียน
3.อธิบายผู้เรียนเกี่ยวกับการประเมินผล
4.ออกแบบกระบวนการ  จัดหาแหล่งเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนสงสัยให้เชื่อมโยงใน URL ที่เป็นข้อมูล
5.การจัดวางและตกแต่ง โดยแยกส่วนบทนำ บทสรุปและหน่วยกิต
  ส่วนที่ยากในการทำเว็บเควสคือการออกแบบใบงาน และออกแบบกระบวนการ
ขั้นตอนการสร้างเว็บเควส ดังนี้
1.เลือกหัวข้อ
2.เลือกการออกแบบ
3.เลือกเครื่องมือในการพัฒนา
4.กระบวนการพัฒนา
5.จัดวางและรวบรวม
6.ประเมินผลเว็บเควส

ส่วนต่างๆ ของเว็บเควส(Parts of a WebQuest)
การออกแบบ WebQuest ที่ดีจะต้องทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ มีทางเลือกและแนวทางยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนที่จะหาคำตอบและแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และเอื้อต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 8 ส่วน ดังต่อไปนี้
1 ) ภาพรวม(Overview) อธิบายเกี่ยวกับบทเรียน ชื่อกลุ่มวิชา ระดับชั้นของผู้เรียน ระบุสาระและวัตถุประสงค์ บอกแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
2)ขั้นบทนำ (Introduction)
ในขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาคำตอบ โดยทั่วไปจะเป็นการให้สถานการณ์ และให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อๆไป ตามที่ออกแบบไว้ ขั้นนี้ต้องทำให้ผู้เรียนสนใจในการค้นคว้าจากเว็บเควส
3 ) ขั้นภารกิจ / ชิ้นงาน (Question and Task)
ขั้นนี้ควรสรุปสั้น ๆให้นักเรียนเข้าใจ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเว็บเควสท์ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมายและจุดเน้นสำหรับผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำงานแบบร่วมมือกัน
4 ) ขั้นแหล่งข้อมูล (Information Resources)
ขั้นนี้เป็นการให้แหล่งข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลที่มีบน website และเชื่อมโยงกับ URL  ครูเป็นผู้ชี้แนะจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม เพื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้หาคำตอบได้ จาก Powerpoint  จากสารานุกรม สิ่งพิมพ์ เป็นต้น
5 ) ขั้นกระบวนการ (Process)
ขั้นนี้ฝึกผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินผล กิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) การนำเอกสารข้อโต้แย้งมาวิเคราะห์ร่วมกัน  และนำเสนอผลงานโดยใช้เว็บเพจ ตารางสรุป ผังมโนทัศน์ ผังงาน เวนน์ไดอะแกรม เป็นต้น
6) ขั้นให้คำแนะนำ (Guidance)
ขั้นนี้เป็นขั้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลว่าเป็นอย่างไร ในขั้นนี้อาจนำเสนอในรูปแบบของคำถามที่ต้องการให้หาคำตอบ หรือใบงานที่ต้องการให้ทำให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ อาจเป็นตารางเวลา หรือแผนที่ ฯลฯ
7) ขั้นประเมินผล (Evaluation)
ในขั้นนี้ ผู้เรียนแต่ละคนอาจได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมือนกันหมดทุกอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rublics) โดยพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ตัวอย่างการประเมินอย่างแท้จริง เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ซึ่งสะสมงานทั้งหมดที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem based Learning) การเรียนรู้โดยอาศัยโครงงาน (Project-based Learning) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้บน WebQuest การประเมินผลอย่างแท้จริงในสภาพจริง
8)ขั้นสรุป (Conclusion)ขั้นนี้เป็นขั้นให้ผู้เรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่

   WebQuest เป็นเว็บที่มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสำเร็จรูปในลักษณะ Inquiry oriented activitiesที่ใช้แหล่งเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจาก World Wide Web นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ใช้แนวความคิดที่ต้องช่วยให้นักเรียนใช้เวลาในการสืบค้นและเรียนรู้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถเข้าไปสืบค้นได้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ ได้เลย แทนที่จะเสียเวลาในการสืบค้นจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่มีข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ
Web Quest  ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
                1. ง่ายต่อความเข้าใจในการใช้
                2. ใช้แหล่งความรู้ที่ดีและมีคุณภาพ
                3. สร้างบทเรียนที่จูงใจผู้เรียน
                4. ขั้นภารกิจต้องอธิบายให้ชัดเจน
                5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
                6. เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานให้แก่ผู้เรียน
                7. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูล
                8. ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็น
referrence
E:\531Quest\WebQuestDesignMap.PDf          
http://webquest.sdsu.edu/Process/WebQuestDesignProcess.html                
http://www.eduscapes.com/sessions/travel/create.htm

        

การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินผลโดยทั่วไปไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะสามารถวัดความสามารถของผู้เรียนได้ วิธีการประเมินยังคงเป็นการทดสอบความสามารถของนักเรียนโดยรวม ปัจจุบันผู้เรียนมีความสามารถ ประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้
องค์ประกอบพื้นฐาน การประเมินตามสภาพจริงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนี้
-ความต้องการของผู้เรียน ที่มีการพัฒนาความคิดจากที่กำหนดทักษะพื้นฐาน
-การประเมินผลโดยตรงจากการสังเคราะห์กับคำแนะนำในห้องเรียน
-การวิเคราะห์นักเรียนรายบุคคล การใช้ตัวอย่างงานของผู้เรียน เช่น Portfolio
                                       -สอนผู้เรียนให้ประเมินงานของตนเอง
                  การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของผู้เรียนในการถามคำถาม แสดงความรู้หรือทักษะความสามารถตามวิธีต่าง ๆ และควรลดอคติในการประเมิน
                  การสอบแบบปรนัย จะวัดความเข้าใจของนักเรียนได้หรือไม่ การประเมินทางเลือกมีประสิทธิภาพมากกว่า ครูส่วนใหญ่ใช้การสอบเพื่อเน้นความจำ แต่ถ้าครูถามผู้เรียนให้ฝึกทักษะการวิเคราะห์ สามารถรวบรวมสิ่งที่เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการทำงานแบบร่วมมือ การเขียน การสอบปากเปล่า และมีความคิดรวบยอดจากการเรียน ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะประยุกต์ทักษะจากงานและโครงงาน ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถของผู้เรียน
         การประเมินตามสภาพจริงใช้ประโยชน์จากการแสดงตัวอย่างกิจกรรมการเรียน 5 ตัวอย่าง ดังนี้
         1.การประเมินประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Assessment)ซึ่งการประเมินที่มีประสิทธิภาพ การใช้ความสามารถที่แตกต่างออกไป การประยุกต์ใช้ทักษะและความคิดรวบยอดในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่นการเขียน การปรับปรุงแก้ไขการนำเสนอรายงานในชั้น
         2.การตรวจสอบอย่างย่อ (Short Investigations) ครูใช้การตรวจแบบย่อ ๆ นักเรียนจะรู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดพื้นฐานและทักษะเริ่มจากตัวกระตุ้น เช่น ปัญหาโจทย์คณิต  การ์ตูนการเมือง แผนที่ฯลฯ
ฝึกให้ผู้เรียนตีความ บรรยาย  รวบรวม  อธิบายหรือทำนาย  การตรวจสอบโดยเลือกตอบหลายข้อ หรือการหาความคิดรวบยอดของแผนผัง เทคนิคการประเมิน ซึ่งนักเรียนต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของความคิดรวบยอด
        3.การตอบคำถามเปิด (Open-Response Question)  นำเสนอนักเรียนโดยการกระตุ้นและถามให้ตอบ  เช่นการเขียนสั้น ๆ การตอบปากเปล่า การวาด การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ
       4.Portfolio เป็นเอกสารการเรียน ช่วยพัฒนานักเรียนและสอนนักเรียนในการประเมินตนเอง การแก้ไขและการทำใหม่ รายการบันทึกประจำวัน การแสดงความคิดเห็น งานศิลปะแผนภาพ รายงานกลุ่ม
      5.การประเมินตนเอง (Self-Assessment) ตามความต้องการของผู้เรียนที่มีส่วนร่วม กระบวนการและผลผลิต การตั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการประเมินตนเอง เช่น
    -อะไรเป็นส่วนที่ยากของโครงงาน 
    -ถ้าคุณสามารถทำงานอีกครั้งจะมีข้อแตกต่างอย่างไร
    -คุณเรียนรู้อย่างไรเกี่ยวกับโครงงาน
    การประเมินตามสภาพจริง ครูควรเข้าใจความหมายมาตรฐานและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง บางคนใช้เกณฑ์การประเมินแบบ Rubric หรือการวิเคราะห์ผ่านงาน ที่ประเมินงานของนักเรียน

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านเว็บ:
Authentic Assessment Overview
http://www.teachervision.fen.com/teaching-methods-and-management/educational-testing/4911.html?detoured=1
Funderstanding: Authentic Assessment
http://www.funderstanding.com/content/authentic-assessment


Taskology of WebQuest
Mystery Task-เป็นการสืบเสาะแสวงหาความรู้ ให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
Judgement Task -การตัดสินข้อเท็จจริง โดยกำหนดหัวข้อให้เลือก
Complimentary Task-การสืบค้นความรู้ และรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่หลากหลาย
Journalist Task-เป็นการสวมบทบาทของผู้สื่อข่าว ผู้เรียนต้องรู้จักการเป็นนักข่าวที่ดี ค้นหาข้อเท็จจริง บนพื้นฐาน
ความเข้าใจที่ถูกต้อง
Creative Task-เป็นการแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านชิ้นงาน ฝึกกระบวนการคิดสร้างสรรค์
Retailing Task-เป็นการค้นคว้าหาข้อมูล ศึกษาเพื่อหาข้อสรุปด้วยตนเอง
Consensus Building Task-การให้ความรู้ โดยเริ่มจากการนำปัญหาขึ้นมาให้โต้เถียงเพื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ โดย
ผ่านประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
Self Knowledge Task-ศึกษาหาความรู้นำมาใช้ในการพัฒนาตนเอง การสะท้อนความรู้ที่ตนเองได้รับ ผู้เรียน
สามารถสรุปเป็นและเขียนความรู้ได้
Persuation Task-เป็นการโน้มน้าวจิตใจโดยใช้ข่าวสารข้อมูลในการสื่อสารให้เกิดความสนใจ
Design Task- เป็นการออกแบบชิ้นงาน วางแผนการดำเนินงานเอง มีกระบวนการทำงาน
นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงใหม่ตามความเข้าใจของตนเอง

Sunday, April 24, 2011

Welcome Message!

                                            Welcome All,


                                            This blog is a part of 162531 Course at KU.
                                            There will be an ePortfolio of the course and
                                            many interesting things to visit..
                       
                                            Enjoy the Surf!!
                                            Varintorn