Piyawit-Teerawadee-Varintorn-Supajana
ขั้นตอนวิธีการจัดทำเว็บเควส สื่อที่ครูทำเพิ่ม การจัดวางเมนู ผลงานผู้เรียน
Plan
ช่วยกันศึกษาข้อมูลจาก Resource ของอาจารย์ที่แผ่นซีดีรอมที่อาจารย์ให้
แบบ 1 แบ่งหัวข้อเรียงตามชื่อตนเอง เช่นปิยวิทย์ ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการจัดทำเว็บเควส
ธีรวดี หาสื่อที่ครูทำเพิ่ม วรินธร ศึกษาการจัดวางเมนูเว็บเควส สุพัจนา หาผลงานผู้เรียน หรือ
แบบ 2 สรุปขั้นตอนวิธีการจัดทำเว็บเควส สื่อที่ครูทำเพิ่ม การจัดวางเมนู ผลงานผู้เรียน ของแต่ละคนตามความเข้าใจของตนลงใน blog ของตนเองแล้วร่วมกันสรุปของทั้ง 4 คน รวมเป็นblog ของปิยวิทย์มั้ย มีความเห็นว่าอย่างไรจ๊ะ น้อง ๆ ว่าไง
งั้นเลือกแบบ 2 ละกัน
เว็บเควสในปัจจุบันเป็นวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหา โดยมีกระบวนการทำงานแบบกลุ่ม ผู้เรียนและผู้สอนมีโอกาสพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ผู้สอนเป็นผู้กำหนดบทบาทสมมุติให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ โดยบางคนเรียกเว็บเควส หรือบทเรียนแสวงรู้
เบอร์นี่ ด็อจ (Bernie Dodge) แห่ง San Diego State University สหรัฐอเมริกาได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะขั้นสูงในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยกิจกรรมบนบทเรียนเป็นตัวเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และต้องการสืบเสาะค้นหาข้อมูล ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในรูปแบบของการตั้งสมมติฐานและสมมติสถานการณ์ โดยการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าต่อเนื่องไปได้ไม่รู้จบ ตามความสนใจของผู้เรียน แต่ละคน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับกิจกรรม (Dodge, 1995 ; Owen, 1999 และวสันต์ อติศัพท์, 2546)
กระบวนการออกแบบเว็บเควส ดังนี้
1.เลือกหัวข้อที่ตรงกับมาตรฐานตัวชี้วัด
2.เลือกออกแบบ เกี่ยวกับใบงานให้ตรงกับมาตรฐานและผู้เรียน
3.อธิบายผู้เรียนเกี่ยวกับการประเมินผล
4.ออกแบบกระบวนการ จัดหาแหล่งเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนสงสัยให้เชื่อมโยงใน URL ที่เป็นข้อมูล
5.การจัดวางและตกแต่ง โดยแยกส่วนบทนำ บทสรุปและหน่วยกิต
ส่วนที่ยากในการทำเว็บเควสคือการออกแบบใบงาน และออกแบบกระบวนการ
ขั้นตอนการสร้างเว็บเควส ดังนี้
1.เลือกหัวข้อ
2.เลือกการออกแบบ
3.เลือกเครื่องมือในการพัฒนา
4.กระบวนการพัฒนา
5.จัดวางและรวบรวม
6.ประเมินผลเว็บเควส
ส่วนต่างๆ ของเว็บเควส(Parts of a WebQuest)
การออกแบบ WebQuest ที่ดีจะต้องทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ มีทางเลือกและแนวทางยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนที่จะหาคำตอบและแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ และเอื้อต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 8 ส่วน ดังต่อไปนี้
1 ) ภาพรวม(Overview) อธิบายเกี่ยวกับบทเรียน ชื่อกลุ่มวิชา ระดับชั้นของผู้เรียน ระบุสาระและวัตถุประสงค์ บอกแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
2)ขั้นบทนำ (Introduction)
ในขั้นนี้เป็นขั้นเตรียมผู้เรียนให้พร้อมและให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแสวงหาคำตอบ โดยทั่วไปจะเป็นการให้สถานการณ์ และให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นต่อๆไป ตามที่ออกแบบไว้ ขั้นนี้ต้องทำให้ผู้เรียนสนใจในการค้นคว้าจากเว็บเควส
3 ) ขั้นภารกิจ (Question and Task)
ขั้นนี้ควรสรุปสั้น ๆให้นักเรียนเข้าใจ ส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเว็บเควสท์ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมายและจุดเน้นสำหรับผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำงานแบบร่วมมือกัน
4 ) ขั้นแหล่งข้อมูล (Information Resources)
ขั้นนี้เป็นการให้แหล่งข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลที่มีบน website และเชื่อมโยงกับ URL ครูเป็นผู้ชี้แนะจัดเตรียมประกอบไว้เพิ่มเติม เพื่อว่าผู้เรียนจะสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้หาคำตอบได้ จาก Powerpoint จากสารานุกรม สิ่งพิมพ์ เป็นต้น
5 ) ขั้นกระบวนการ (Process)
ขั้นนี้ฝึกผู้เรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ด้วย มีกิจกรรมที่นำไปสู่ความคิดขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์ และขั้นประเมินผล กิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) การนำเอกสารข้อโต้แย้งมาวิเคราะห์ร่วมกัน และนำเสนอผลงานโดยใช้เว็บเพจ ตารางสรุป ผังมโนทัศน์ ผังงาน เวนน์ไดอะแกรม เป็นต้น
6) ขั้นให้คำแนะนำ (Guidance)
ขั้นนี้เป็นขั้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลว่าเป็นอย่างไร ในขั้นนี้อาจนำเสนอในรูปแบบของคำถามที่ต้องการให้หาคำตอบ หรือใบงานที่ต้องการให้ทำให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ อาจเป็นตารางเวลา หรือแผนที่ ฯลฯ
7) ขั้นประเมินผล (Evaluation)
ในขั้นนี้ ผู้เรียนแต่ละคนอาจได้เรียนรู้เนื้อหาไม่เหมือนกันหมดทุกอย่าง ดังนั้นจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Evaluation Rublics) โดยพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ชัดเจน ตัวอย่างการประเมินอย่างแท้จริง เช่น การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ซึ่งสะสมงานทั้งหมดที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลาย การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหา (Problem based Learning) การเรียนรู้โดยอาศัยโครงงาน (Project-based Learning) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้บน WebQuest การประเมินผลอย่างแท้จริงในสภาพจริง
8)ขั้นสรุป (Conclusion)ขั้นนี้เป็นขั้นให้ผู้เรียนทำการสรุปความคิดรวบยอดที่ผู้เรียนหรือกลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันแสวงหาความรู้ หาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่
WebQuest เป็นเว็บที่มีการออกแบบนวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสำเร็จรูปในลักษณะ Inquiry oriented activitiesที่ใช้แหล่งเรียนรู้ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจาก World Wide Web นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ใช้แนวความคิดที่ต้องช่วยให้นักเรียนใช้เวลาในการสืบค้นและเรียนรู้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถเข้าไปสืบค้นได้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ ได้เลย แทนที่จะเสียเวลาในการสืบค้นจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่มีข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการ
Web Quest ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ง่ายต่อความเข้าใจในการใช้
2. ใช้แหล่งความรู้ที่ดีและมีคุณภาพ
3. สร้างบทเรียนที่จูงใจผู้เรียน
4. ขั้นภารกิจต้องอธิบายให้ชัดเจน
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
6. เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานให้แก่ผู้เรียน
7. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูล
8. ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็น
referrence
E:\531Quest\WebQuestDesignMap.PDF http://webquest.sdsu.edu/Process/WebQuestDesignProcess.html http://www.eduscapes.com/sessions/travel/create.htm
องค์ประกอบทั้ง 7 ส่วน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ webquestเลยค่ะ .. แหล่งข้อมูลนั้นก็ต้องเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหาให้มากที่สุด
ReplyDeleteAnyone comment me!
ReplyDelete